top of page

CREATIVE TOURISM หรือ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คืออะไร?

อัปเดตเมื่อ 20 ต.ค. 2564





คำว่า Creative Tourism (การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์) สร้างขึ้นโดยนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ที่ชื่อ

คริสปิน เรย์มอนด์ (Crispin Raymond) และ เกร็ก ริชาร์ดส์ (Greg Richards) เกิดจากแรงบันดาลใจที่พวกเขาได้มาจากการท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 ซึ่งมีจุดหมายปลายทางคือประเทศไทยรวมอยู่ด้วย และได้ให้คำนิยาม Creative Tourism ร่วมกันในปี พ.ศ. 2543 ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกว่า..



“Tourism which offers visitor the opportunity to develop their creative potential through active participation in learning experiences which are characteristic of the holiday destination where they are undertaken”




หลักจากนั้น Creative tourism หรือ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เมื่อถูกนำมาใช้ในแต่ละพื้นที่ก็มีการให้คำนิยามที่หลากหลาย เช่น



“การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือการเดินทางที่มุ่งไปสู่ความผูกพันและประสบการณ์จริงแท้ที่เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ศิลปะมรดกทางวัฒนธรรม หรือคุณลักษณะพิเศษของพื้นที่นั้น และนำมาซึ่งความเชื่อมโยงผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่และเป็นผู้รังสรรค์วัฒนธรรมที่มีชีวิตนั้น”

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO,2549)








“เกิดจากหลักการที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่จุดหมาย ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าวทำให้นักท่องเที่ยวได้ทำความเข้าใจผ่านประสบการณ์ของตัวเอง เกิดปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าบ้าน และผู้มาเยือน และยังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้ใหม่ มาประยุกต์กับชีวิตการงานของตนหลังจากการท่องเที่ยว”

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ, 2556





“การท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเอกลักษณ์สถานที่โดยนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ตรง ร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเอกลักษณ์ของสถานที่ ที่ไม่ใช่กิจกรรมที่เน้นรายได้ของชุมชน แต่เป็นกิจกรรมที่เน้นคุณค่าของชุมชนเป็นสำคัญ”

(พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท อดีตผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท., 2561)



และยังมีอีกหลากหลายนิยาม...






ดู 9,445 ครั้ง1 ความคิดเห็น
bottom of page